หนังสือการประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ เล่มนี้ มีขนาด A4 เล็ก (19 x 26 ซม.) จำนวน 359 หน้า พิมพ์ครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549 ปัจจุบันได้พิมพ์เป็นครั้งที่ 7 เมื่อเดือนกันยายน 2556
- ผู้เขียนได้เรียบเรียงความรู้เกี่ยวกับการประเมินสิ่งต่าง ๆ ด้านการศึกษา โดยพยายามให้ครอบคลุมสาระการประเมินที่ผ่านมาและแนวคิดในการประเมินใหม่ ๆ พร้อมทั้งเสนอตัวอย่างแนวทางในการประเมิน เพื่อให้ผู้อ่านใช้เป็นแนวทางไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม
- ผู้เหมาะสมที่จะใช้หนังสือเล่มนี้ ได้แก่ ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา สำหรับการปฏิบัติหน้าที่และเพิ่มวิทยฐานะ นิสิตนักศึกษาใช้ในการเรียนรายวิชาที่เกี่ยวข้อง ผู้สอนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาใช้เป็นตำราได้
- สาระสำคัญของหนังสือประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาทั่วไป ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมิน รูปแบบการประเมิน การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการประเมิน และส่วนที่เป็นเนื้อหาเฉพาะเกี่ยวกับการประเมินสิ่งต่าง ๆ ได้แก่ การประเมินสื่อการสอนหรือนวัตกรรม การประเมินการเรียนรู้ การประเมินการสอน การประเมินหลักสูตร การประเมินโครงการ การประเมินเพื่อประกันคุณภาพการศึกษา และการประเมินองค์การ รวม 12 บท ซึ่งแต่ละบทมีรายละเอียด ดังนี้
บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
1.1 ความหมายของการประเมินและศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้อง
1.2 ความหมายของการประเมินทางการศึกษา
1.3 แนวคิดของการประเมิน
1.4 เป้าหมายของการประเมิน
1.5 วิธีการประเมิน
1.6 ประเภทการประเมิน
1.7 พัฒนาการของการประเมิน
1.8 แนวโน้มของการประเมิน
1.9 ขั้นตอนการประเมิน
1.10 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 2 รูปแบบการประเมิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
2.1 ความหมายของรูปแบบ
2.2 ลักษณะของรูปแบบ
2.3 ประเภทรูปแบบการประเมิน
2.4 รูปแบบการประเมินที่ได้รับความนิยมและมีแนวโน้มจะได้รับความนิยม
2.5 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 3 การประเมินสื่อการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
3.1 ความหมายของสื่อและการประเมินสื่อการสอน
3.2 ความสำคัญของสื่อการสอน
3.3 ประเภทการประเมินสื่อการสอน
3.4 ขั้นตอนการประเมินสื่อการสอน
3.5 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 4 การประเมินการเรียนรู้ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
4.1 ความหมายของการประเมินการเรียนรู้
4.2 ความสำคัญของการประเมินการเรียนรู้
4.3 แนวโน้มของการประเมินการเรียนรู้
4.4 ขอบข่ายการประเมินการเรียนรู้
4.5 วิธีประเมินการเรียนรู้
4.6 ขั้นตอนการประเมินการเรียนรู้
4.7 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 5 การประเมินการสอน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
5.1 แนวคิดเกี่ยวกับการประเมินการสอน
5.2 การประเมินการสอนแบบ 360 องศา
5.3 ขั้นตอนการประเมินการสอน
5.4 ตัวอย่างแนวทางการประเมินการสอน
5.5 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 6 การประเมินหลักสูตร ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
6.1 แนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร
6.2 การประเมินหลักสูตร
6.3 ขั้นตอนการประเมินหลักสูตร
6.4 ตัวอย่างแนวทางการประเมินหลักสูตร
6.5 ตัวอย่างการประเมินหลักสูตรปริญญาตรี วิชาเอกคหกรรมศาสตร์
6.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 7 การประเมินโครงการ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
7.1 แนวคิดเกี่ยวกับโครงการ
7.2 การประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ
7.3 ตัวอย่างแนวทางการประเมินความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการ
7.4 การประเมินผลโครงการ
7.5 ตัวอย่างแนวทางการประเมินผลโครงการ
7.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 8 การประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
8.1 แนวคิดเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา
8.2 ประเภทของการประเมินเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ที่สำคัญ 2 ประเภท
ได้แก่
— การประเมินคุณภาพภายใน
— การประเมินคุณภาพภายนอก
8.3 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 9 การประเมินองค์การ ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
9.1 การประเมินประสิทธิผลองค์การ
9.2 การประเมินองค์การโดยใช้แนวทางรางวัล MBNQA
9.3 การประเมินองค์การโดยใช้แนวทางการวัดดุลยภาพ
9.4 ขั้นตอนการประเมินองค์การ
9.5 ตัวอย่างการประเมินองค์การทางการศึกษา
9.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 10 การสร้างและพัฒนาเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
10.1 ระดับการวัด
10.2 ประเภทเครื่องมือประเมินทางการศึกษา
10.3 ลักษณะที่ดีของเครื่องมือประเมินทางการศึกษา
10.4 หลักการสร้างเครื่องมือประเมินทางการศึกษา
10.5 หลักการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือทางการศึกษา
10.6 การเก็บรวบรวมข้อมูล
10.7 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 11 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
11.1 ความหมายของสถิติ
11.2 สถิติที่ใช้กันมากในการประเมิน ได้แก่
— สถิติบรรยาย
— สถิติอ้างอิง
— สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือ
— สถิติที่ใช้หาประสิทธิภาพสื่อหรือสิ่งที่พัฒนาขึ้น
11.3 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท
บทที่ 12 การเขียนรายงานการประเมิน ประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับ
12.1 โครงสร้างของรายงานการประเมิน
12.2 สาระตามโครงสร้างรายงานการประเมิน
12.3 ลักษณะทั่วไปของรายงานการประเมิน
12.4 การปรับปรุงรายงานการประเมิน
12.5 ตัวอย่างรายงานการประเมิน
12.6 สรุปเนื้อหาและเอกสารอ้างอิงประจำบท